ทิ้งความเครียดไปกับน้ำตา
� เมื่อมีใครสักคนร้องไห้คนอื่นๆ มักจะรับรู้และเข้าใจได้ทันทีว่าบุคคลผู้นั้นกำลังมีความทุกข์ทรมานอัดแน่นอยู่ในใจที่ไม่สามารถแก้ไขข้อข้องใจที่หมักหมมอยู่ได้� และอาจทำให้คนใกล้ชิดพลอยกลุ้มใจไปตามๆกัน หรือแม้แต่คนแปลกหน้าก็พลอยยิ้มไม่ออก แต่สำหรับเจ้าของน้ำตาเองเมื่อน้ำตาเหือดแห้งลงแล้วจะสังเกตเห็นอารมณ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น
��������� อารมณ์สะเทือนใจหรือกลัดกลุ้มใจจนน้ำตาล้นเกิดขึ้นได้ในเด็กเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่� อารมณ์ความรู้สึกของเด็กนั้นเกิดขึ้นตามสัญชาตญาณโดยบางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีเหตุผล� แต่ในความเป็นจริงแล้วอารมณ์ของเด็กละเอียดอ่อนเกินกว่าผู้ใหญ่หลายคนจะเข้าใจ� การร้องไห้ของเด็กอาจเกิดความเครียดความรู้สึกว่าไม่สบายใจ หรือเกิดจากการที่ผู้ใหญ่ทำสิ่งที่กระทบกระเทือนใจเด็กโดยไม่รู้ตัวและการเก็บสะสมความรู้สึกสะเทือนใจนี้� หากเด็กไม่แสดงออกด้วยการร้องไห้แต่กลับแสดงออกด้วยพฤติกรรมเก็บกด� เงียบขรึม� ซึมเศร้า ฯลฯ นั้นนับไม่เป็นผลดีกับตัวเด็กเลย
��������� แต่การระบายออกด้วยน้ำตานับเป็นการระบายออกที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ฉะนั้นขณะที่เด็กร้องไห้ผู้ใหญ่จึงไม่ควรดุด่าหรือตีเพราะต่อไปเมื่อมีปัญหาลูกจะไม่กล้าระบายออกด้วยการร้องไห้� แต่จะเก็บกดอารมณ์เหล่านั้นไว้กับตัวเองและกลายเป็นเด็กเก็บกดในที่สุด
��������� เมื่อลูกร้องไห้� การเข้าไปกอด ตบหลัง ตบไหล่และปลอบใจนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด� ให้ลูกร้องไห้กับคุณสักพัก สุดท้ายความเครียดของลูกน้อยก็จะผ่อนคลายลงโดยไม่มีตะกอนขุ่นมัวตกค้างอยู่และพร้อมที่ยิ้มแย้มร่าเริงได้เหมือนเดิม
��������� แม้การร้องไห้จะเป็นการระบายออกที่ดีแต่ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสะเทือนใจซึ่งไม่ว่าพ่อแม่คนไหนก็คงไม่อยากให้ลูกมีความรู้สึกเลวร้ายเช่นนั้นและคงไม่ยากเกินไปที่คุณพ่อคุณแม่จะเอาใจใส่ความรู้สึกและอารมณ์ของลูกมากขึ้น� เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตด้วยอารมณ์ที่ร่าเริงแจ่มใส� มีสมองที่ปลอดโปร่ง� พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งรอบกายได้อย่างชาญฉลาด
เรื่อง: นพ.สเปญ� อุ่นอนงค์�� ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์� โรงพยาบาลรามาธิบดี